เมนู

ก็อุบาสก เมื่อกล่าวปัญหานี้ ได้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก. ส่วนพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ตรัสด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายไม่เห็นภิกษุนั้น ขาว บอบบาง จมูกโด่ง มาหรือ แต่จิตต-
คฤหบดีนี้ กล่าวแล้วว่า นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์ โดยให้ถือเอานัย.
จบ อรรถกถาปฐมกามภูสูตร

6. ทุติยกามภูสูตร



ว่าด้วยสังขาร 3



[560] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า
มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูก่อน
คฤหบดี สังขารมี 3 คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
[561] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่า
กายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่า จิตตสังขาร.
[562] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญา
และเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิด
ที่กาย ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเช้าและลมหายใจออก
จงชื่อว่ากายสังขาร. บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง
ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร. สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต
ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยจิต. ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.
[563] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม
ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิด
มีได้อย่างไร.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูก ก่อนแต่
จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[564] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือ
จิตตสังขารดับก่อน.
กา. ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขาร
ดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ.
[565] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว
กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขาร
ดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไปไออุ่นสงบ
อินทรีย์แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโร กายสังขารดับสงบ
วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ ( แต่ ) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่น ยังไม่สงบ
อินทรีย์ผ่องใส ดูก่อนคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาลแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธมีความต่างกันอย่างนี้.

ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ



[566] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้
ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิต-
นิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลัง
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไป
เพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[567] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร
หรือจิตตสังขารเกิดก่อน.